วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

กล้องจุลทรรศน์,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์,ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์,ส่วนประกอบกล้องจุลทรรศน์,กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง,การใช้กล้องจุลทรรศน์,กล้องไมโครสโคป,microscope

กล้องจุลทรรศน์ microscope ราคาพิเศษ อุปกรณ์พร้อมใช้งาน เหมาะสำหรับนักเรียน นักศีกษา การทำงานวิจัยทั่วๆไป

กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ 
** กล้องจุลทรรศน์ ราคาพิเศษ 4500 บาท **
** กล้องจุลทรรศน์ เก็บเงินปลายทาง **


MAHACHOK : 0618325995 :@bfu0743f

ขั้นตอนการสั่งสินค้า,กล้องจุลทรรศน์
1.เลือกสินค้าที่ต้องการ ตรวจสอบรายละเอียดที่ต้องการใช้งาน
2.แอดไอดีไลน์ด้านบน (kunpon_pong) ชื่อ เอเบิลอินเตอร์ซัพพลาย
3.แคปรูปรายการสินค้าที่ต้องการส่งมาในไลน์
4.คอนเฟริมราคาและรายการสินค้าจากทางร้านอีกครั้งหนึ่ง
5.หลังจากร้านคอนเฟริมแล้ว ให้แจ้งชื่อที่อยู่มือถือ ทางไลน์ให้ชัดเจน
6.ทางร้านจะทำการทดสอบและตรวจสอบสินค้าอีกครั้งเพื่อส่งให้ลูกค้า
7.ถ้าลูกค้าคอนเฟริมพร้อมส่งชื่อที่อยู่มือถือเรียบร้อย ก่อนบ่ายโมงตรง สินค้าจะถึงลูกค้าวันถัดไป


กล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ 

Product : Heater
Website : https://xn--m3cic2akk8ce6h8gf.blogspot.com/
Website : https://xn--12ct3a2a0al6hbcv7jcc.blogspot.com/
Website : https://infrared-able.blogspot.com/
Website : https://xn----twfsf9em3eamd0b2c0irj3b.blogspot.com/
78/77 Kubon-Ramintra Tarang Bangkeng BKK 10220 Thailand
Cell: +66-86-334-3495
Home: +66-61-832-5995

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์,ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์,ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง,หน้าที่ของกล้องจุลทรรศน์,ใบงานส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์,ส่วนประกอบ ของ กล้องจุลทรรศน์ พร้อม กับ หน้าที่,หลอดไฟกล้องจุลทรรศน์ ทําหน้าที่,กล้องจุลทรรศน์ขยายภาพได้อย่างไร

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
                                                     ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์,กล้องจุลทรรศน์

หมายเลข-1 ลำกล้อง (Body Tube) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากมือจับมีลักษณะเป็นท่อกลวงปลายด้านบนมีเลนส์ใกล้ตาสวมอยู่ด้านบนอีกด้านหนึ่งมีชุดของเลนส์ใกล้วัตถุซึ่งติดอยู่กับจานหมุนที่เรียกว่า Revolving Nosepiece
หมายเลข-2 จานหมุนเลนส์ (EVOLVING NOSEPIECE) เป็นส่วนของกล้องที่ใช้สำหรับหมุน เพื่อเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

หมายเลข-3-4-5 เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective Lens) จะติดอยู่เป็นชุดกับจานหมุน ซึ่งเป็นส่วนของกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ ซึ่งรับแสงที่ส่องผ่านมาจากวัตถุที่นำมาศึกษา (Specimen) เมื่อลำแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ เลนส์ใกล้วัตถุจะขยายภาพของวัตถุนั้น และทำให้ภาพที่ได้เป็นภาพจริงหัวกลับ (Primary Real Image) โดยเลนส์ใกล้วัตถุจะมีกำลังขยายต่าง ๆ กัน ได้แก่

หมายเลข-3 เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ (Lower Power) กำลังขยาย 4X, 10X

หมายเลข-4 เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง (High Power) 40X

หมายเลข-5 เลนส์ใกล้วัตถุแบบ Oil Immersion ขนาด 100X

หมายเลข-6 ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น

หมายเลข-7 เลนส์รวมแสง (condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา

หมายเลข-8 หลอดไฟ เป็นแหล่งกำเนิดแสง

หมายเลข-9 เลนส์ใกล้ตา ( Eyepiece Lens หรือ Ocular Lens ) เลนส์นี้จะสวมอยู่กับลำกล้อง มีตัวเลขแสดงกำลังขยายอยู่ด้านบน เช่น 5X, 10X หรือ 15X เป็นต้น กล้องที่ใช้ในปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไปนั้น มีกำลังขยายของเลนส์ตาที่ 10X รุ่นที่มีเลนส์ใกล้ตาเลนส์เดียว เรียก Monocular Microscope ชนิดที่มีเลนส์ใกล้ตาสองเลนส์ เรียก Binocular Microscope

หมายเลข-10 แขนกล้อง ( Arm ) เป็นส่วนยึดลำกล้องและฐานไว้ด้วยกัน ใช้เป็นที่จับเวลาเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์

หมายเลข-11 แท่นวางสไลด์ (Stage) เป็นแท่นสำหรับวางสไลด์ตัวอย่างที่ต้องการศึกษา มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม หรือวงกลมตรงกลางมีรูให้แสงจากหลอดไฟส่องผ่านวัตถุแท่นนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ด้านในของแท่นวางวัตถุจะมีคริปสำหรับยึดสไลด์และมีอุปกรณ์ช่วยในการเลื่อนสไลด์ เรียกว่าMechanical Stage นอกจากนี้ยังมีสเกลบอกตำแหน่งของสไลด์บนแทนวางวัตถุ ทำให้สามารถบอกตำแหน่งของภาพบนสไลด์ได้

หมายเลข-12 ปุ่มปรับภาพหยาบ ( Coarse Adjustment Knob ) ใช้เลื่อนตำแหน่งของแท่นวางวัตถุขึ้นลง เมื่ออยู่ในระยะโฟกัส ก็จะมองเห็นภาพได้ ปุ่มนี้มีขนาดใหญ่จะอยู่ที่ด้านข้างของตัวกล้อง

หมายเลข-13 ปุ่มปรับภาพละเอียด ( Fine Adjustment Knob ) เป็นปุ่มขนาดเล็กอยู่ถัดจากปุ่มปรับภาพหยาบออกมาทางด้านนอกที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือกล้องบางชนิดอาจจะอยู่ใกล้ ๆ กัน เมื่อปรับด้วยปุ่มปรับภาพหยาบจนมองเห็นภาพแล้วจึงหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดจะทำให้ได้ภาพคมชัดยิ่งขึ้น

หมายเลข-14 ฐานกล้อง ( Base ) ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า


Product : Heater
Website : https://xn--m3cic2akk8ce6h8gf.blogspot.com/
Website : https://xn--12ct3a2a0al6hbcv7jcc.blogspot.com/
Website : https://infrared-able.blogspot.com/
Website : https://xn----twfsf9em3eamd0b2c0irj3b.blogspot.com/
78/77 Kubon-Ramintra Tarang Bangkeng BKK 10220 Thailand
Cell: +66-86-334-3495



อุปกรณ์วิทยาศาสตร์,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ราคา,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ 20 ชนิด,รูปอุปกรณ์วิทยาศาสตร์,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์พื้นฐาน,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ วิธีใช้,อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ว

อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ คือการวัดความสามารถในทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การจัดสถานการณ์ให้ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการ เน้นให้ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สังเกตและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการทดลอง

เครื่องมือวิทยาศาสตร์ (Scientific Instrument) มีความหมายรวมถึง เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือ สิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบมาใช้ในงานเฉพาะทาง โดยใช้ประโยชน์ในการพิสูจน์หลักการทางกายภาพ ความสัมพันธ์ต่างๆ หรือเทคโนโลยี ด้วยวิธีการวัด การเก็บข้อมูล การบันทึก การแปลงสัญญาณ การวัดข้อมูลซ้ำ การตรวจสอบยืนยันข้อมูล โดยปกติแล้วผลการวิเคราะห์จะออกมาในรูปของตัวเลข ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ของตัวอย่างที่ไม่ทราบค่า(unknown) ใช้ตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุ แรง ฯลฯ โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ แตกต่างจากอุปกรณ์พื้นฐาน คือมีความซับซ้อน มีความพิเศษเฉพาะ ความละเอียดมาก ในปัจจุบันเครื่องมือวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาการควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ใช้งานง่าย เพิ่มฟังก์ชั่น ปรับเงื่อนไขสภาวะ ปรับพารามิเตอร์ ใช้ในการเก็บข้อมูล ปรับความละเอียดในการวัด ฯลฯ เครื่องมือวิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ LAN เพื่อแลกเปลี่ยน เข้าถึงฐานข้อมูลการวิเคราะห์ (databases) เช่น ฐานข้อมูลสเปกตรัม (spectra libraries) ,กล้องจุลทรรศน์,กล้องไมโครสโคป,กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เป็นต้น

Product : Heater
Website : https://xn--m3cic2akk8ce6h8gf.blogspot.com/
Website : https://xn--12ct3a2a0al6hbcv7jcc.blogspot.com/
Website : https://infrared-able.blogspot.com/
Website : https://xn----twfsf9em3eamd0b2c0irj3b.blogspot.com/
78/77 Kubon-Ramintra Tarang Bangkeng BKK 10220 Thailand
Cell: +66-86-334-3495

กล้องจุลทรรศน์คือ (knowledge),กล้องจุลทรรศน์ ส่วนประกอบ,กล้องจุลทรรศน์ สรุป,กล้องจุลทรรศน์ หน้าที่,กล้องจุลทรรศน์ มีกี่แบบ,กล้องจุลทรรศน์มีอะไรบ้าง,กล้องจุลทรรศน์ ประโยชน์,กล้องจุลทรรศน์ ใช้เลนส์อะไร,กล้องจุลทรรศน์ ประเภท,กล้องจุลทรรศน์ ราคา

กล้องจุลทรรศน์คือ
ความหมายของกล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาชีววิทยาและช่วยให้เรามองเห็นในสิ่งที่ เล็กมากๆ อีกด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น

ประโยชน์ของกล้องไมโครสโคป
1. ช่วยในการมองเห็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าตาเราจะมองเห็น
2. ช่วยในการศึกษาหาข้อมูลหลักฐานทางชีววิทยา

หลักการการทำงานของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการมองวัตถุที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเครื่องช่วยตาในการศึกษาลักษณะโครงสร้างของเซลล์ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งกล้องจุลทรรศน์มีความสามารถขยาย (magnification) ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการแจกแจงรายละเอียด (Resolution / Resolving power) หมายถึงความสามารถของกล้องจุลทรรศน์ในการแยกจุดสองจุด ซึ่งอยู่ใกล้กันที่สุดให้มองเห็น แยกเป็นสองจุดได้ (Two points of discrimination) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ- ความยาวคลื่นแสงที่ส่องผ่านเลนส์ ซึ่งถ้าแสงมีความยาวคลื่นที่สั้น จะช่วยเพิ่ม resolving power – ความสามารถในการรวมแสงของเลนส์วัตถุ (numerical aperture of objective lens / NA) โดยที่ค่า NA ยิ่งมากภาพที่ได้ก็จะยิ่งคมชัดมากขึ้นตาม

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์
ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาและแบบสเตอริโอ
2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและแบบส่องกราด

1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากในอดีตอย่างมาก และใช้แสงที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่มีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าเลยที่เดียวเชียวและเป็นกล้องที่ราคาถูกสามารถใช้ในงานที่ละเอียดพอประมาณ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
(1) กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดาประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่เชื่อมโยงแยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าป้องกันไม่ให้แสงจากภายนอกรบกวน
2. แขน (Arm) คือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับฐาน เป็ยตำหน่งที่จับเวลายกกล้อง
3. แท่นวางวัตถุ (Speciment stsge) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
4. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นหใม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
5. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
6. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
7. เลนส์รวมแสง (condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
8. ไดอะแฟรม (diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
9.ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
10. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
11. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) จะติดอยู่กับจานหมุน (Revolving nose piece) ซึ่งจานหมุนนี้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยาย 3-4 ระดับ คือ 4x 10x 40x 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
12. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำ หน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

การใช้กล้องจุลทรรศน์
1. การจับกล้อง ใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้อง และใช้อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน
2. ตั้งลำกล้องให้ตรงเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนประกอบต่างๆเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง
3. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง
4. ปรับกระจกเงา หรือเปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่
5. นำแผ่นสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่บริเวณกึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่าน
6. มองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุ ค่อยๆหมุนปุ่มประบภาพหยาบให้เลนส์ใกล้วัตถุเลื่อนลงมาอยู่ใกล้ๆกระจกปิดสไลด์ (แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์กับสไลด์สัมผัสกัน เพราะจะทำให้ทั้งคู่แตกหักหรือเสียหายได้)
7. มอง ที่เลนส์ใกล้ตาค่อยๆปรับปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆ เพื่อหาระยะภาพ เมื่อได้ภาพแล้วให้หยุดหมุน ตรวจดูแสงว่ามากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ให้ปรับไดอะแฟรมเพื่อให้ได้แสงที่พอเหมาะ
8. มอง ที่เลนส์ใกล้ตาหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนแผ่นสไลด์เล็กน้อยจนเห็นวัตถุอยู่ ตรงกลางพอดี
9. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นก็หมุนเลนส์อันที่กำลังขยายสูงขึ้นเข้าสู่แนวลำกล้อง แล้วปรับความคมชัดด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น
10. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณดังที่กล่าวไว้แล้ว
11. หลัง จากใช้กล้องจุลทรรศน์แล้ว ให้ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับตัวกล้อง เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ตั้งฉากกับที่วางวัตถุ หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นอันที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งของลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องให้อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด เช็ดทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะด้วยผ้านุ่มๆและสะอาด แล้วจึงนำกล้องเข้าเก็บในตำแหน่งที่เก็บกล้อง กำลังขยายเราสามารถคำนวณกำลังขยายของกล้องได้โดย กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา x กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

(2) กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอเป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้ กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย กล้องชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากกล้องทั่วๆไป คือ
1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนมีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ
2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำ คือ น้อยกว่า 1 เท่า
3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาอยู่ในช่วง 63-225 มิลลิเมตร

บทความที่ได้รับความนิยม